เกี่ยวกับฉัน

วันศุกร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ชื่อผลงาน การสร้างและพัฒนาแบบฝึก เพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษา เรื่อง การใช้ verb to be,

ชื่อผลงาน การสร้างและพัฒนาแบบฝึก เพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษา เรื่อง การใช้ verb to be,


verb to have ที่ส่งผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

โรงเรียน เทศบาล ๔ (วัดโพธาวาส) จังหวัดสุราษฎร์ธานี



ผู้วิจัย นางเพ็ญระพี แก้วบุดดี ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ

โรงเรียนเทศบาล ๔ (วัดโพธาวาส) จังหวัดสุราษฎร์ธานี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ .1) การสร้างและพัฒนาแบบฝึก เพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษา เรื่อง การใช้ verb to be, verb to have ที่ส่งผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ คือ 85/85 .2) เพื่อศึกษาพัฒนาการของนักเรียนในการเรียนรู้จาก การสร้างและพัฒนาแบบฝึก เพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษา เรื่อง การใช้ verb to be, verb to have ที่ส่งผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 .3) เพื่อศึกษาความก้าวหน้าในการเรียนรู้จาก การสร้างและพัฒนาแบบฝึก เพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษา เรื่อง การใช้ verb to be, verb to have ที่ส่งผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ว่ามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้นระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 .4) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อ การสร้างและพัฒนาแบบฝึก เพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษา เรื่อง การใช้ verb to be, verb to have ที่ส่งผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

ตัวอย่างที่ใช้ในการดำเนินการครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนวิชาภาษาอังกฤษ ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552 โรงเรียนเทศบาล ๔ (วัดโพธาวาส) ที่ได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 77 คน

เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการ ประกอบด้วย 1.) แบบฝึก เพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษา เรื่อง การใช้ verb to be, verb to have ที่ส่งผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 2.)แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 3.) แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อ แบบฝึก เพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษา เรื่อง การใช้ verb to be, verb to have ที่ส่งผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ

การดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล ทำการเก็บรวบรวมข้อมูล 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนแรก การทดลองใช้ (Try out) กับกลุ่มเล็ก ขั้นตอนที่สอง การใช้จริงกับกลุ่มทดลอง มีการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ ข้อมูลจากแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ ข้อมูลจากแบบสอบถามความคิดเห็นของกลุ่มทดลองเมื่อเรียนจบ แต่ละแบบฝึก ข้อมูลจากการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน และคะแนนจากการทำใบงาน

ผลการดำเนินการ พบว่า

1.) ผลการใช้ แบบฝึก เพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษา เรื่อง การใช้ verb to be, verb to have ที่ส่งผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3ของกลุ่มทดลอง ปรากฏว่า มีค่าเฉลี่ยของคะแนนทดสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

2.) ผลการการสร้างและพัฒนา แบบฝึก เพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษา เรื่อง การใช้ verb to be, verb to have ที่ส่งผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และนำไปใช้ในการเรียนการสอนกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นกลุ่มทดลอง พบว่า การสร้างและพัฒนาแบบฝึก เพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษา เรื่อง การใช้ verb to be, verb to have ที่ส่งผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 88.01/94.86 มีค่าสูงกว่าเกณฑ์สมมติฐาน 85/85 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานการวิจัย

3.) ผลการวัดความคิดเห็นของกลุ่มทดลองที่มีต่อ แบบฝึก เพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษา เรื่อง การใช้ verb to be, verb to have ที่ส่งผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่ากลุ่มทดลองมีความคิดเห็นต่อ แบบฝึก เพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษา เรื่อง การใช้ verb to be, verb to have ที่ส่งผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก

บทความทางวิชาการเรื่อง การศึกษากับการพัฒนาประเทศ

บทความทางวิชาการเรื่อง การศึกษากับการพัฒนาประเทศ




บทบาททางกาศึกษาที่มีต่อการพัฒนาประเทศนั้น เป็นที่ตระหนักและยอมรับกันทั่วไปสำหรับสภาพการณ์ปัจจุบันและอนาคต การศึกษาเป็นปัจจัยหลักในการโน้มนำประเทศไปในแนวทางที่พึงประสงค์ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ศิลปวัฒนธรรม

จากข้อความนี้ แสดงถึงการยอมรับความสำคัญของการศึกษาต่อการพัฒนา เพราะการศึกษาเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนามนุษย์ให้กลายเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่า ที่เรียกว่า ทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources) และทรัพยากรมนุษย์นี้เองที่เป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ประเทศใดประเทศหนึ่งมีการพัฒนารวดเร็วและมากน้อยเพียงใด บทบาทของการศึกษาในการพัฒนามนุษย์ในลักษณะนี้มาก จนอาจกล่าวได้ว่า การศึกษากับการพัฒนาประเทศเป็นของคู่กัน เป็นสิ่งที่ต้องมีควบคู่อยู่เสมอ

ที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า การศึกษาเป็นการพัฒนาคนและทรัพยากรมนุษย์ของแต่ละสังคมหรือประเทศโดยตรง กล่าวคือ การศึกษาได้ทำหน้าที่แปรสภาพคนตั้งแต่เริ่มเกิดไปสู่สภาพพลเมืองดี แล้วปรับแต่งให้เข้าสู่สภาพการเป็นกำลังคน (Manpower) ตามความต้องการของงานในสาขาต่างๆ ระบบการศึกษายังทำหน้าที่ในการผลิตทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณลักษณะตามความต้องการของสังคม กล่าวอีกอย่างหนึ่ง การศึกษามีบทบาททั้งทางตรงและทางอ้อมต่อการพัฒนาสังคมและประเทศชาติในด้านต่างๆ

ความหมายของการศึกษาจำแนกได้ 2 ลักษณะ คือ

1. การศึกษาในความหมายที่กว้างหมายถึงอิทธิพลทุกอย่างที่มีต่อชีวิต บุคลิกภาพและความรู้สึกนึกคิดของมนุษย์ที่ถูกกำหนดด้วยปัจจัยหลายอย่าง เช่น ครอบครัว สังคม ศาสนา ระบบการปกครอง สื่อมวลชนและดินฟ้าอากาศ เป็นต้น การศึกษาในลักษณะนี้ไม่มีสิ้นสุดเริ่มตั้งแต่เกิดจนตาย เป็นการศึกษาจากประสบการณ์ทั้งหมดของชีวิต การศึกษาจึงมีได้อยู่แต่ในโรงเรียนเท่านั้น

2. การศึกษาในความหมายที่แคบหมายถึง กระบวนการที่สังคมถ่ายทอดวัฒนธรรม ความรู้ ความชำนาญ ค่านิยมจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง โดยผ่านโรงเรียนหรือสถาบันทางสังคมอื่นๆ เป็นการถ่ายทอดอย่างจงใจ มีการเลือกสรรว่าจะถ่ายทอดอะไร มีการกำหนดแนวทาง มีการจัดตั้งระบบเป็นกิจลักษณะ การศึกษาในลักษณะนี้เป็นภารกิจของสังคมที่จะปั้นให้เด็กเป็นไปตามความต้องการของสังคม



หน้าที่ของการศึกษา

โดยทั่วไปแล้วการศึกษาทำหน้าที่สำคัญ 2 อย่างควบคู่กันไป กล่าวคือ หน้าที่เชิงอนุรักษ์ (Conservative Function) เป็นหน้าที่ที่ต้องทำนุบำรุง รักษา ถ่ายทอดวัฒนธรรมของสังคม เพื่อรักษาเสถียรภาพของสังคมไว้ โดยมีการถ่ายทอดความรู้ ความเชื่อ ค่านิยม แบบแผนแห่งพฤติกรรมจากรุ่นหนึ่งไปยังคนอีกรุ่นหนึ่ง ส่วนอีกหน้าที่หนึ่งคือ หน้าที่เชิงสร้างสรรค์ (Innovative Function) ในกรณีนี้การศึกษาทำหน้าที่เป็นเครื่องมือสำคัญในการเปลี่ยนแปลงเพื่อที่จะทำให้สังคมก้าวหน้าตลอดเวลา ตลอดจนทำหน้าที่เผยแพร่นวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ

หากจะกล่าวเฉพาะบทบาทและหน้าที่ของการศึกษาที่มีส่วนสัมพันธ์ต่อการพัฒนาบุคคล ต่อการพัฒนาสังคมและประเทศชาติแล้ว อาจแบ่งหน้าที่ของการศึกษาได้ดังนี้

1. พัฒนาความรู้และสติปัญญาของพลเมืองโดยส่วนรวมให้เป็นผู้ที่มีความสามารถสูงยิ่งขึ้น

2. ช่วยให้คนสามารถปรับตัวให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของสังคมที่เปลี่ยนแปลงได้ดียิ่งขึ้นทั้งในปัจจุบันและอนาคต

3. เตรียมพลเมืองดี (Good Citizen) ให้แก่สังคมอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

4. ช่วยให้บุคคลมีความสามารถในการประกอบอาชีพ เพื่อดำรงตนอยู่ในสงคมได้อย่างมีความสุข

5. ช่วยเตรียมกำลังคนให้สอดคล้องกับงานในสาขาต่างๆ ตามที่สังคมและประเทศชาติต้องการ

6. ถ่ายทอดผลิตผลทางปัญญา ประสบการณ์ ตลอดจนมรดกทางปัญญาและทางวัฒนธรรมสู่คนรุ่นใหม่

7. ปลูกฝังความคิด ความเชื่อ ค่านิยมและอุดมการณ์ทางด้านการเมือง เศรษฐกิจสังคม และวัฒนธรรม ตามความประสงค์ของสังคมนั้นๆ

8. สร้างกลุ่มพลังทางการเมือง ทางด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะการคัดสรรชนชั้นนำหรือชนชั้นปกครองของประเทศ

9. เป็นสื่อสร้างความเข้าใจซึ่งกันและกันระหว่างสมาชิกของแต่ละสังคมแต่ละประเทศ เช่น โครงการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม เป็นต้น

จากภาระหน้าที่ของการศึกษาที่ได้กล่าวมานี้ ช่วยให้เห็นลู่ทางในการกำหนดลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างการศึกษาและการพัฒนาได้สะดวกยิ่งขึ้น

บทบาทของการศึกษาในการพัฒนา

ในช่วงระยะทศวรรษ 1950 นักเศรษฐศาสตร์เชื่อกันว่าการศึกษาเป็นองค์ประกอบอันสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ ทั้งนี้ เนื่องจากได้มีผู้ศึกษาการลงทุนเปรียบเทียบแสดงให้เห็นว่าบางประเทศได้รับผลตอบแทนสูง บางประเทศได้รับผลตอบแทนไม่สูงนัก และเมื่อนำรายละเอียดมาเปรียบเทียบกัน นักเศรษฐศาสตร์สรุปได้ว่า องค์ประกอบของการพัฒนาที่ทำให้เกิดผลตอบแทนต่างกันคือ พื้นฐานทางการศึกษาของประชาชนในประเทศนั้น จึงเชื่อว่าการพัฒนาการศึกษาเป็นการพัฒนาที่ให้ผลตอบแทนสูง ด้วยเหตุนี้ในช่วงเวลานั้น การศึกษาจึงถูกจัดให้เป็นสินค้าเศรษฐกิจอย่างหนึ่ง ซึ่งหมายถึงว่าต้องมีการลงทุนเพื่อสร้างทุนมนุษย์ หรือกำลังคนอันเป็นหัวใจสำคัญของความเจริญก้าวหน้า หน้าที่สำคัญของระบบการศึกษาก็คือการสร้างคนให้มีความรู้ทักษะและทัศนคติที่จะช่วยให้อัตราการเจริญเติบโดโดยส่วนรวมสูงขึ้น ส่วนผลกระทบอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวกับเศรษฐกิจจะเป็นเป้าหมายรองลงไป

จึงกล่าวได้ว่า การศึกษาสามารถทำให้การพัฒนาสำเร็จตามเป้าหมายได้แต่มีเงื่อนไขว่าต้องเปลี่ยนจุดมุ่งหมายและวิธีการจัด กล่าวโดยสรุปก็คือ การศึกษาเพื่อการพัฒนานั้นต้องมุ่งที่จะให้ความรู้ ทักษะ ทัศนคติที่จำเป็นต่อความต้องการที่แท้จริงของชาวชนบทผู้ยากไร้ และต้องเป็นการศึกษาที่สมาชิกสังคมสามารถจะเรียนรู้ได้ตลอดเวลา ด้วยเหตุนี้เมื่อ ยูเนสโกได้พิมพ์หนังสือเรื่อง “เลิร์นนิง ทุ บี” (Learning to be) ในปี ค.ศ.1972 แนวคิดที่สำคัญของหนังสือเล่มนี้ก็คือ การศึกษาของคนจะหยุดนิ่งไม่ได้ เมื่อจบการศึกษาจากระบบโรงเรียนแล้ว จะต้องศึกษาต่อไปตลอดชีวิต เพราะโลกเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาและรวดเร็วยิ่งขึ้น แนวคิดการศึกษาตลอดชีวิต (Life-long Education) ทำให้เกิดความจำเป็นที่จะต้องสร้างระบบการศึกษานอกโรงเรียนขึ้นเพื่อให้คนที่พ้นวันเรียนแล้ว ได้มีโอกาสใช้การศึกษานอกโรงเรียนแทนการเรียนในโรงเรียน แนวความคิดนี้จึงมีคนขานรับกันทั่วโลก

เท่าที่กล่าวมา แสดงให้เห็นว่า การศึกษาเป็นเครื่องมือที่สำคัญยิ่งต่อการพัฒนาอาจจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหรือส่งเสริมส่วนอื่นๆ ของระบบสังคม นั้นคือการศึกษาอาจถูกใช้ให้เป็นเครื่องมือในการดำเนินกิจกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการของสังคม หรือตอบสนองนโยบายบางอย่างของรัฐบาลได้

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นในฐานะที่ท่านเป็นผู้หนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาถ้าท่านยังคงเห็นว่าการศึกษาคือธุรกิจ เป็นการหากำไรจากผู้ที่ต้องการศึกษา แล้วจะยังผลให้พัฒนาประเทศชาติไปได้อย่างไร เพราะการศึกษาเป็นการทำเพื่อธุรกิจแขนงหนึ่งเท่านั้น

วันศุกร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2553

verbs คืออะไรรู้ไหมเธอจ๋า !

มาตรฐานการเรียนรู้ขั้นพื้นฐาน
สาระที่ 1 : ภาษาเพื่อการสื่อสาร
มาตรฐาน ต.1.2 : มีทักษะในการสื่อสารทางภาษาแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร แสดงความรู้สึก และ ความคิดเห็น โดยใช้เทคโนโลยี และการจัดการที่เหมาะสม เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต
1. ใช้ภาษาง่าย ๆ สั้นๆ เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล โดยใช้สื่อนวัตกรรมง่ายๆ
2. ใช้ภาษาง่ายๆ สั้นๆ เพื่อแสดงความต้องการของตนโดยใช้สื่อเทคโนโลยีง่ายๆ ที่มีอยู่ในสถานศึกษา
3. ใช้ภาษาง่าย ๆ เพื่อขอและให้ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล และสิ่งต่างๆ รอบตัว โดยใช้ประโยชน์ จากสื่อการเรียนทางภาษา และผลจากการฝึกทักษะต่างๆ
4. ใช้ภาษาง่ายๆ เพื่อแสดงความรู้สึกของตน โดยใช้ประโยชน์จากสื่อการเรียนทางภาษา และ ผลจากการฝึกทักษะต่างๆ รวมทั้งรู้วิธีการเรียนภาษาต่างประเทศที่ได้ผล
มาตรฐาน ต. 1.3 : เข้าใจกระบวนการพูด การเขียน และสื่อสารข้อมูล ความคิดรวบยอด และ ความคิดเห็น ในเรื่องต่างๆ ได้อย่างสร้างสรรค์ มีประสิทธิภาพ มีประสิทธิภาพ และมีสุนทรียภาพ
4. นำเสนอกิจกรรมทางภาษาที่เหมาะสมกับวัย ตามความสนใจ ด้วยความสนุกสนาน
สาระที่ 2 : ภาษาและวัฒนธรรม
มาตรฐาน ต.2.1 : เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับวัฒนธรรมของเจ้าภาษา และนำไปใช้ได้อย่าง เหมาะสมกับกาลเทศะ
1. เข้าใจรูปแบบพฤติกรรม และการใช้ถ้อยคำ สำนวนง่ายๆ ในการติดต่อปฏิสัมพันธ์ ตาม วัฒนธรรมของเจ้าของภาษา
มาตรฐาน ต 2.2 : เข้าใจความเหมือน และความแตกต่าง ระหว่างภาษา และวัฒนธรรมของ เจ้าของภาษากับภาษา และวัฒนธรรมไทย และนำมาใช้อย่างมีวิจารณญาณ




ชื่อ…………………………….ชั้น………………เลขที่………

คำชี้แจง แบบทดสอบก่อนเรียนนี้มี  30 ข้อแบ่งได้เป็น 2 ตอน

ตอนที่ 1 จงเติมคำในช่องว่าง

ใช้คำในกรอบข้างล่างเหล่านี้เติมคำในช่องว่างให้ถูกต้อง



I …….. a boy.
Sutee…………….a teacher.
My mother………… a nurse.
This is a Jam. He ……. a carpenter.
This is a Pam. She ………. a girl.
This is Wila. She ……...a nurse.
This is Manut. He ………… my brother.
He ………….. a doctor.
She…………….. a fruit seller.
We ……………. singers.
This……….. a my dog .
It ………………… a dog.
He ……………….. a police .
She and I ……………….. students.
Nut ………… a man.
ตอนที่ 2
จงใช้คำกริยา Verb to beให้เหมาะสม
Malee …………. cook.
I ………… Thai.
Been …………………….a doctor. ……… you like him?
The ball ……….. here.
……………….. he walk to school?
The bird ……….. an animal.
Wichai ……....a man. He ………….. a doctor.
……… he in the garden ?
Where ……….. the ball ?
It …….. in front of the car.
There ……….. three butterflies.
……………...she a nurse?
………...they happy?
…………..he a lawyer?
………..you go to school by bus?

Verb to be เป็นกริยาช่วย
กริยา to be คือ คำกริยาช่วยใน Present Tense (ปัจจุบันกาล)ใช้ is, am, are ( เป็น อยู่ คือ) แต่ใน Past Tense (อดีตกาล )ใช้ was were (เป็นอยู่ คือ)
หลักการใช้ Verb to be
1. ประธานเอกพจน์ ( มีอย่างเดียว ) ได้แก่ He, She, It ชื่อคนหรือคำนามที่ชี้เฉพาะเจาะจงแสดงให้เห็นคน สิ่งเดียว ตัวเดียว เช่น Sutee , Suwat, A student,The cat ,The pen ใช้ Verb to be is
ตัวอย่างเช่น
Sutee is a boy.
This is a bug.
* แต่ถ้าประธานเป็น  I (ความหมายคือ ฉัน) ใช้ am เช่น I am a boy.
* แต่ถ้าประธานเป็น  You (ความหมายคือ เธอ) ใช้ are เช่น
You are a boy.
2. ประธานพหูพจน์ ( มีหลายอย่าง ) ได้แก่ We ,They, Its ชื่อคนที่แสดงถึงหลายคน เช่น Sutee and Suwat, สัตว์ที่แสดงถึงหลายตัวหลายชนิด เช่น Cats ,Dogs, Cat and dog หรือสิ่งของหลายชนิด เช่น The pen and the pencil ใช้ Verb to be are
ตัวอย่างเช่น
Sutee and Suwat are students. สุธีและสุวัฒน์ เป็นนักเรียน
My pens are in the box. ปากกาของฉันอยู่ในกล่อง







จงใช้ is , am, are ในประโยคต่อไปนี้ให้ถูกต้อง

I …… in the classroom.
a. is b. am c. are

2. We….. in the classroom.
a. is b. am c. are

You…….. in the classroom.
a. is b. am c. are

4. Jim …….. in the classroom.
a. is b. am c. are

He…….. in the classroom.
a. is b. am c. are

6. She …….. in the classroom.
a. is b. am c. are

7. It …….. in the classroom.
a. is b. am c. are

8. My ruler …….. in the classroom.
a. is b. am c. are

9. My teacher …….. in the classroom.
a. is b. am c. are

10. Sutee …….. in the classroom.
a. is b. am c. are




จงใช้ is , am, are ในประโยคต่อไปนี้ให้ถูกต้อง


1. My sister …… at home.
a. is    b. am     c. are

2. She…..... at home.
a. is   b. am    c. are

3.My brother …..... at home.
a. is   b. am    c. are

4. He …..... at home.
a. is   b. am    c. are

5. My father …..... not at home.
a. is    b. am    c. are

6. This……… a book.
a. is    b. am    c. are

7. These ……….. books.
a. is    b. am    c. are

8. This …… a cat.
a. is    b. am    c. are

9. These ……… cats.
a. is    b. am    c. are
 
10. Where …………….. John?
a. is      b. am      c. are






1.This_______ a _______ . 











2. It _______ a_______ .       








3. This _____ a_______ .






________ this a rat?



5. These ________ bananas .